ประวัติความเป็นมาของตำรวจภูธรภาค 7

ก่อนปี พ.ศ. 248

พื้นที่ตำรวจภูธรภาค 7 ก่อนปี พ.ศ. 2483 อยู่ในความรับผิดชอบของกองบังคับการตำรวจภูธรเขต 6 ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ กระทรวงมหาดไทย มี พ.ต.อ.พระรามอินทรา เป็น ผู้บังคับการ และ พ.ต.ท.หลวงอารักประชากร เป็น รองผู้บังคับการ

ปี พ.ศ. 2483

ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2483 ได้ตั้งเป็น กองบังคับการตำรวจภูธรเขต 7 ขึ้น พ.ต.ท.หลวงอารักประชากร ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 7 เป็นคนแรก ขณะนั้นตัวอาคารกองบังคับการตำรวจภูธรเขต 7 ยังไม่มี ได้มาอาศัยกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม เป็นที่ทำงาน อาคารเป็นบ้านไม้อยู่ทางทิศตะวันออก ของ ตัวอาคาร สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐม และอยู่แถวเดียวกันหันหน้ามาทางขวาขององค์พระปฐมเจดีย์ โดยได้อาศัยสถานที่ดังกล่าวได้ประมาณ 4 เดือน พ.ต.ท.หลวงอารักประชากร จึงได้ไปติดต่อ พระประชากรบริรักษ์ (แอร่ม สุนทรศารทูล) ข้าหลวงประจำจังหวัดนครปฐม เพื่อขอยืมสโมสรเสือป่าเป็นที่ตั้ง กองบังคับการตำรวจภูธรเขต 7 (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งร้านขายอาหารนิวนามทอง) ตัวอาคารเป็นไม้ 2 ชั้น  ชั้นบนเป็นที่ตั้ง กองบังคับการตำรวจภูธรเขต 7 ชั้นล่างเป็นที่ตั้ง กองกำกับการตำรวจภูธรเขต 7 และ กองบังคับการตำรวจภูธรเขต 7 ก็ใช้ที่ตั้งนั้นตลอดมา

ปี พ.ศ. 2508

จนกระทั่งมีการตั้ง กองบังคับการตำรวจภูธรเขต 7 ขึ้นใหม่ ซึ่งสถานที่ตั้งใหม่นี้เป็นพื้นที่ๆ ตั้ง กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม และสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐมเดิม ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อเดือน มีนาคม 2508 และ กองบังคับการตำรวจภูธรเขต 7 ได้มาเปิดทำการยังสถานที่ใหม่นี้ เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2508 ตลอดมา โดยตัวอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 3 ชั้น ยาว 72 เมตร มีทางเดินเชื่อมตึกหอประชุม พื้นระเบียงหน้ามีทางเดินติดต่อเชื่อมกับอาคารหลังคาทรงไทย โดยตึกนี้ 

พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมตำรวจได้มาวางศิลาฤกษ์ เมื่อ 11 มิถุนายน 2507 และก่อสร้างเสร็จเมื่อ 1 มีนาคม 2508 ปลูกสร้างโดยงบประมาณกรมตำรวจ เป็นเงิน 6,850,000 บาท กรมตำรวจได้จ้างเหมาให้บริษัท  ไทยพิพัฒน์ จำกัด เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ตัวอาคารชั้นล่างเป็นที่ตั้งสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐม ทะเบียนยานพาหนะ และพลาธิการ ชั้นสองเป็นที่ตั้ง กองบังคับการตำรวจภูธรเขต 7 และตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ชั้นสามเป็นที่ตั้งของกองกำกับการตำรวจภูธรเขต 7 และ กองกำกับการวิทยาการเขต 7

ปี พ.ศ. 2519

ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ   (ฉบับที่ 5) ลง 11 มกราคม 2519 จึงเปลี่ยนชื่อจาก กองบังคับการตำรวจภูธรเขต 7    เป็น กองบังคับการตำรวจภูธร 3 มี พล.ต.ต.บัญชา อุณหะนันท์ เป็นผู้บังคับการ กองบังคับการตำรวจภูธร 3 เป็นคนแรก จนกระทั่งในปี 2536 ได้มีพระราชกฤษฎีกาปรับโครงสร้างกรมตำรวจ (ฉบับที่ 22) ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2536 ได้ยกฐานะกองบังคับการตำรวจภูธร 3 เป็นหน่วยงานระดับกองบัญชาการ เรียกว่า ตำรวจภูธรภาค 7   มี  พล.ต.ท.ประชา พรหมนอก  ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ เป็นหัวหน้าตำรวจภูธรภาค 7 และในปี พ.ศ. 2539 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ จึงได้เปลี่ยนจากตำแหน่ง หัวหน้าตำรวจภูธรภาค 7 เป็น ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 มี พล.ต.ท.สมบัติ อมรวิวัฒน์ ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 เป็นคนแรก

ปี พ.ศ. 2553

ต่อมาเมื่อเดือน ต.ค.2553 ตำรวจภูธรภาค 7 ได้ย้ายอาคารที่ทำการมาที่ เลขที่ 109 ตำรวจภูธรภาค 7 ถนนข้างวัง ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จว.นครปฐม ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเดียวกับ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค ๗  โดยมี พล.ต.ท.พงษ์สันต์ เจียมอ่อน เป็น ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7

ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงาน ตำรวจภูธรภาค 7

ตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจภูธร เขต 7

พ.ต.อ.หลวงอารักประชากร

ก.พ.๒๔๘๓ – ธ.ค.๒๔๘๔

พ.ต.อ.หลวงแสงนิติศาสตร์

ธ.ค.๒๔๘๔ – ม.ค.๒๔๘๖

พ.ต.อ.หลวงชาติตระการโกศล

ก.พ.๒๔๘๖ – มิ.ย.๒๔๘๖

พ.ต.อ.หลวงพิสิฐวิทยาการ

ก.ย.๒๔๘๖ – ธ.ค.๒๔๘๖

พ.ต.อ.หลวงเถลิงรณกาจ

ม.ค.๒๔๘๗ – ก.พ.๒๔๘๗

พ.ต.อ.หลวงราชจบแดน

พ.ค.๒๔๘๗ – พ.ย.๒๔๘๘

พ.ต.อ.หลวงสนิทตุลยารักษ์

ธ.ค.๒๔๘๘ – ก.ค.๒๔๘๙

พ.ต.อ.หลวงพิชิตธุระการ

ต.ค.๒๔๘๙ – ม.ค.๒๔๙๐

พ.ต.อ.หลวงจุลกะรัตนากร

ก.พ.๒๔๘๖ – มิ.ย.๒๔๘๖

พ.ต.อ.หลวงจันทบุรานุยุตต์

พ.ย.๒๔๙๐– มี.ค.๒๔๙๑

พ.ต.อ.เนื่อง อาขุบุตร

มี.ค.๒๔๙๑ – ก.ค.๒๔๙๑

พ.ต.อ.สวัสดิ์ กันเขตร

ก.ค.๒๔๙๑ – พ.ค.๒๔๙๒

พ.ต.อ.หลวงพรหมโมปกรณ์กิจ

พ.ย.๒๔๙๒ – พ.ย.๒๔๙๓

พ.ต.อ.ประชา บูรณธนิต

พ.ย.๒๔๙๓ – ส.ค.๒๔๙๕

พ.ต.อ.แฝด วิชพันธุ์

ส.ค.๒๔๙๕ – เม.ย.๒๔๙๗

พ.ต.อ.กว้าง โลหติรัตนะ

เม.ย.๒๔๙๗ – มี.ค.๒๔๙๘

พ.ต.อ.สุข สกุลพร

มี.ค.๒๔๙๘ – ส.ค.๒๕๐๒

พ.ต.อ.ศิริ คชหิรัญ

ส.ค.๒๕๐๒ – ก.ค.๒๕๐๗

พ.ต.อ.เลื่อน ปัณฑรนนทกะ

ก.ค.๒๕๐๗ – เม.ย.๒๕๐๘

พ.ต.อ.เกียรติ วิมุกตายน

พ.ย.๒๕๐๘ – พ.ย.๒๕๑๐

พ.ต.อ.ศิริ ทองคำวงษ์

พ.ย.๒๕๑๐ – เม.ย.๒๕๑๓

พ.ต.อ.วิเชียร แสงแก้ว

พ.ค.๒๕๑๓ – มิ.ย.๒๕๑๕

พ.ต.อ.ชนม์เจริญ สมบัติศิริ

ก.ค.๒๕๑๕ – ก.ค.๒๕๑๘

พ.ต.อ.ชัยยะ เมฆสุต

ก.ย.๒๕๑๘ – ก.ย.๒๕๑๙

ตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจภูธร ภาค 3

พล.ต.ต.บัญชา อุณหะนันทน์

ต.ค.๒๕๑๙ - ต.ค.๒๕๒๒

พล.ต.ต.ยุทธ สินสืบผล

ระหว่าง พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๒๔

พล.ต.ต.ชนม์ชม ภูริพันธุ์

ต.ค.๒๕๒๔ - ต.ค.๒๕๒๕

พล.ต.ต.มนัส ครุฑไชยันต์

ต.ค.๒๕๒๕ - ต.ค.๒๕๒๖

พล.ต.ต.ประพันธ์ มุสิกานนท์

ต.ค.๒๕๒๖ - ต.ค.๒๕๒๘

พล.ต.ต.ณรงค์ เหรียญทอง

ต.ค.๒๕๒๘ - ต.ค.๒๕๓๐

พล.ต.ต.เขตต์ นิ่มสมบุญ

ต.ค.๒๕๓๐ – ต.ค.๒๕๓๒

พล.ต.ต.ณรงค์ วิทยารัก

ต.ค.๒๕๓๒ – พ.ค.๒๕๓๔

พล.ต.ต.ยงยุทธ เทพจำนงค์

พ.ค.๒๕๓๔ – ก.ย.๒๕๓๔

พล.ต.ต.ล้วน ปานรศทิพย์

ต.ค.๒๕๓๔ – ต.ค.๒๕๓๕

พล.ต.ต.สมชาย พิสิฏฐ์ศักดิ์

ต.ค.๒๕๓๕ – ต.ค.๒๕๓๖

พล.ต.ต.วิฑูร ศิริวิพากษ์

ต.ค.๒๕๓๖ – ม.ค.๒๕๓๗

ตำแหน่ง ผู้ช่วย อ.ตร.หน.ภาค 7

พล.ต.ท.ประชา พรหมนอก

ม.ค.๒๕๓๗ – มิ.ย.๒๕๓๗

พล.ต.ท.ไพฑูรย์ สุวรรณวิเชียร

มิ.ย.๒๕๓๗ – ต.ค.๒๕๓๗

พล.ต.ท.วิรุฬห์ พื้นแสน

พ.ย.๒๕๓๗ – ก.ย.๒๕๓๘

พล.ต.ท.ไกรสุข สินศุข

ต.ค.๒๕๓๘ – ต.ค.๒๕๓๙

ตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 7

พล.ต.ท.สมบัติ อมรวิวัฒน์

ต.ค.๒๕๓๙ - ต.ค.๒๕๔๐

พล.ต.ท.บุญชัย ชื่นสุชน

ต.ค.๒๕๔๐ - มิ.ย.๒๕๔๒

พล.ต.ท.อนันต์ เหมทานนท์

มิ.ย.๒๕๔๒ - ต.ค.๒๕๔๓

พล.ต.ท.ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ

ต.ค.๒๕๔๓ - มิ.ย.๒๕๔๕

พล.ต.ท.พิชิต ควรเดชะคุปต์

มิ.ย.๒๕๔๕ – ก.ย.๒๕๔๖

พล.ต.ท.อุกฤษฎ์ ปัจจฺมสวัสดิ์

ก.ย.๒๔๕๖ - ต.ค.๒๕๔๗

พล.ต.ท.ชัยยันต์ มะกล่ำทอง

ต.ค.๒๕๔๗ – ต.ค.๒๕๔๘

พล.ต.ท.ฉลอง สนใจ

ต.ค.๒๕๔๘ - ต.ค.๒๕๔๙

พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา

ต.ค.๒๕๔๙ – ต.ค.๒๕๕๑

พล.ต.ท.ถวิล สุรเชษฐวงษ์

มิ.ย.๒๕๕๑ – พ.ย.๒๕๕๒

พล.ต.ท.พงษ์สันต์ เจียมอ่อน

พ.ย.๒๕๕๒ - มิ.ย.๒๕๕๔

พล.ต.ท.หาญพล นิตย์วิบูรณ์

มิ.ย.๒๕๕๔ – ก.ย.๒๕๕๗

พล.ต.ท.สมบูรณ์ ฮวบบางยาง

พ.ค.๒๕๕๗ – ก.ย.๒๕๕๗

พล.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช

ต.ค.๒๕๕๘ – ก.ย.๒๕๕๙

พล.ต.ท.สุทธิพงษ์ วงษ์ปิ่น

ต.ค.๒๕๕๙ – ต.ค.๒๕๖๐

พล.ต.ท.กิตติพงษ์ เงามุก

ต.ค.๒๕๖๐ – ก.ย.๒๕๖๑

พล.ต.ท.ธนา ชูวงศ์

ต.ค.๒๕๖๑ – ปัจจุบัน

Skip to content