วันนี้ (20 ก.ค.) ที่ห้องประชุม ศปก.ภ.7 ชั้น 4 อาคารตำรวจภูธรภาค 7 จ.นครปฐม พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบช.ภ.7 เป็นประธานการประชุม ศปก.ภ.7 ครั้งที่ 18/2565 ด้วยระบบทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยมี ผบก.ภ.จว. และรอง ผบก.ภ.จว.ทั้ง 8 จว. ผกก.104 สถานีในสังกัดตำรวจภูธรภาค 7 และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมด้วยระบบทางไกล ณ ที่ตั้งหน่วย
โดยทุก สภ. ได้รายงานผลการปฏิบัติงานของแต่ละพื้นที่ รวมถึงการรายงานผลการตรวจสถานีตำรวจของผู้บังคับบัญชาใน ภ.จว. รายงานข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ ภ.7 รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565
พร้อมกันนี้ พล.ต.ท.ธนายุตม์ ได้มีข้อสั่งการให้ผู้ใต้บังคับชา คือ 1.กำชับการปฏิบัติตามหนังสือ ตร.ที่ 0013.151/2008 ลง 9 ก.ค.64 เรื่อง อนุมัติหลักการและกำหนดหลักเกณฑ์ แนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับงานรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของ ตร.ซึ่งกำหนดเรื่องสำคัญให้หน่วยปฏิบัติดังนี้
1.1 เรื่องร้องเรียนตำรวจ 5 กรณี ให้เฉพาะ บช. และ ภ.จว.หรือเทียบเท่าเท่านั้นเป็นผู้ดำเนินการ ได้แก่
(1) เรื่องทุจริตต่อหน้าที่
(2) เรื่องประพฤติมิชอบในกรณีพนักงานสอบสวน ไม่รับเลขคดี/สอบสวนบิดเบือนคดี กลั่นแกล้ง ข่มขู่ คุกคาม ยัดเยียดข้อหาดำเนินคดี
(3) เรื่องขอความเป็นธรรมในคดีกล่าวหาพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับคดี ซึ่งผู้ร้องหรือผู้มีส่วนได้เสียร้องขอความเป็นธรรมต่อหน่วยงาน กก./สถานี หรือ ภ.จว./บก. แล้ว แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไขหรือยังไม่ดำเนินการ หรือผู้ร้องยังไม่ได้รับความพึงพอใจหรือเห็นว่ายังไม่ได้รับความเป็นธรรม
(4) เรื่องข้าราชการตำรวจคนเดิมถูกร้องเรียนบ่อยครั้งจากผู้ร้องหลายราย
(5) กรณีอื่นๆ ที่ บช./ภ.เห็นสมควร
1.2 ระยะเวลาดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนตำรวจ
(1) ดำเนินการให้เสร็จภายใน 30 วัน
(2) ขอขยายได้อีก 1 ครั้งไม่เกิน 15 วัน
1.3 ระยะเวลาดำเนินการ เรื่องร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือ แจ้งเบาะแสการกระทำผิดกฎหมาย
(1) ดำเนินการให้เสร็จภายใน 15 วัน
(2) ขยายได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 7 วัน
1.4 การแจ้งผู้ร้องให้ทำเป็นหนังสือและหรือช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
(1) ครั้งที่ 1 แจ้งการรับเรื่องจาก จต.ทราบเพื่อ จต.แจ้งผู้ร้องทราบ (2) ครั้งที่ 2 แจ้งความคืบหน้าให้หน่วยที่ได้รับเรื่อง (บช./ภ.) ภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับเรื่อง (3) ครั้งที่ 3 แจ้งผลให้ บช./ภ.แจ้งผลดำเนินการแล้วเสร็จให้ผู้ร้องทราบ
2.กำชับการปฏิบัติตามหนังสือตร.ที่ 0013.151/1637 ลง 21 เม.ย.65 เรื่อง แนวทางและขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเรื่องร้องเรียนข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการและลูกจ้างในสังกัด ตร. ซึ่งมีรูปแบบขั้นตอนสาระสำคัญให้ต้องดำเนินการ คือ
2.1 ให้ดำเนินการตามแบบบันทึกถ้อยคำผู้ร้องเรียน (แบบ ตส.1)/ผู้ให้ถ้อยคำ (แบบ ตส.2)/ผู้ถูกร้องเรียน (แบบ ตส.3) และ รายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริง (แบบ ตส.4)
2.2 ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือประธานต้องมียศและตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้ถูกตรวจสอบข้อเท็จจริง และต้องเป็นข้าราชการสัญญาบัตร
2.3 เรื่องตรวจสอบข้อเท็จจริงมีการดำเนินซ้ำซ้อนกันหรือไม่ หากซ้ำซ้อนให้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องรวมไว้ในสำนวน
2.4 กรณีมีมูลต้องให้ผู้ถูกร้องเรียนให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบพิจารณาให้ความเป็นธรรมประกอบแก้เรื่องที่ถูกร้องเรียน
3.กรณีเรื่องร้องเรียนทั้ง 5 กรณี ให้เสนอ ผบช.ภ.7 เห็นชอบทุกกรณี
4.กำชับการดำเนินการทางวินัย ให้ปฏิบัติดังนี้
4.1 กรณีมีการสืบสวนข้อเท็จจริงเมื่อมีมูลความผิดทางอาญาด้วย ให้ผู้บังคับบัญชามอบหมายผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษตามกฎหมายทุกกรณี
4.2 การดำเนินการทางวินัยและทางอาญา สามารถแยกดำเนินการต่างหากจากกัน เมื่อคณะกรรมการทางวินัยรวบรวมพยานหลักฐานครบถ้วนสมบูรณ์แล้วและเป็นพยานหลักฐานเดียวกันกับทางอาญา เพื่อความเป็นธรรมไม่ควรรอผลทางอาญาแต่อย่างใด
4.3 ระยะเวลาที่กำหนดให้ดำเนินการทั้งของคณะกรรมการฯ และชั้นพิจารณาสั่งการ ให้ดำเนินการเป็นไปตามที่กฎหมาย กฎ ระเบียบที่กำหนดไว้ หากมีเหตุผลจำเป็นอย่างยิ่งให้มีการขอขยายได้ตามความจำเป็นเท่านั้น
5. ให้ทุกหน่วยทำการศึกษาร่าง พ.ร.บ.ตำรวจ ฉบับใหม่ที่จะออกมาบังคับใช้ในเร็วๆ นี้ว่า มีผลกระทบต่อการดำเนินการทางวินัยเดิมหรือไม่ อย่างไร เพื่อจะได้เร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายเดิมกำหนดไว้
6. ให้ทุกหน่วยมีความพร้อมในการรับการสุ่มตรวจเยี่ยมจากผู้บังคับบัญชา
7. เน้นย้ำหัวหน้าหน่วยทุกหน่วย ในทุกครั้งที่มีการโยกย้ายไปดำรงตำแหน่งใหม่ ต้องมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ส่งมอบวัสดุ ครุภัณฑ์ของทางราชการให้เรียบร้อย หัวหน้าหน่วยต้องทราบข้อมูลและจำนวนวัสดุ ครุภัณฑ์ของทางราชการทั้งหมด
8. ช่วงเวลานี้อยู่ระยะเวลาอภิปรายไม่ไว้วางใจ ให้ทุกหน่วยเตรียมความพร้อม หากมีการกล่าวหาดำเนินคดีอาญา ส.ส. ที่มีการอภิปรายพาดพิงอันอาจเป็นความผิดทางอาญา
9. เน้นย้ำให้นำอุปกรณ์ของงานป้องกันปราบปรามที่แต่ละหน่วยได้รับจัดสรรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
10. เร่งรัดติดตามจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับค้างเก่า ที่ยังจับกุมตัวไม่ได้ โดยเฉพาะหมายจับที่ใกล้ขาดอายุความ
11. กวดขันจับกุมผู้จำหน่ายยาเสพติดรวมถึงผู้ที่สมคบ และตรวจยึดทรัพย์สินเครือข่ายยาเสพติด ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
12. เพิ่มการจับกุมต่างด้าวลักลอกเข้าเมือง และห้ามเจ้าหน้าที่ตำรวจมีส่วนได้เสียหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือต่างด้าว ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตามอย่างเด็ดขาด
13. กำชับให้ประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในระเบียบวินัยโดยเคร่งครัด โดยเฉพาะในขณะแต่งเครื่องแบบ ต้องแต่งกายและตัดผมสั้นให้เรียบร้อย หลีกเลี่ยงการแสดงกิริยาท่าทางที่ไม่เหมาะสมในที่สาธารณะ โดยให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง และเข้มงวดกวดขันการปฏิบัติของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด ตามนโยบายของ ตร.
14. เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณการจัดสร้างให้เป็นไปตามงวดงานและงวดเงิน เนื่องจากใกล้สิ้นปีงบประมาณ